ผมได้อ่านพบบทความซึ่งเป็นคำนำในหนังสือ “อินทรีสังวร” ของวัดนาป่าพง เห็นว่ามีประโยชน์ต่อนักปฏิบัติ เปิดใจให้กว้างแล้ว พิจารณาดูจะพบความจริงที่อาจปฏิบัติเอนออกไปจึงทำให้ไม่ก้าวหน้า เพราะไม่ศึกษามรรคให้ดี
มนุษย์เป็นสัตว์ที่สื่อสารกันด้วยระบบภาษาที่ซับซ้อน ทั้งโครงสร้างและความหมาย วจีสังขาร ที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นนั้น มีความวิจิตรเทียบเท่าดุจความละเอียดของจิต ทั้งนี้เพราะจิตเป็นตัวสร้างความหมายรูปต่างๆ (จิต เป็นเหตุในการเกิดของนามรูป และนามรูปซึ่งจิตสร้างขึ้นนั้น เป็นเหตุในการดำรงอยู่ได้ของจิต)
ถ้อยคำหนึ่งๆ ในภาษาหนึ่งๆ เมื่อนำไปวางไว้ในบริบทต่างๆ กันก็มีความหมายต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้น ถ้อยคำหนึ่งๆ ในบริบทเดียวกันสามารถถูกเข้าใจต่างกันในความหมายได้ ขึ้นอยู่กับการหมายรู้เฉพาะของจิตผู้รับสาร ซึ่งก็มีอนุสัยในการปรุงแต่งแตกต่างกันไป ความหยาบละเอียดในอารมณ์ อันมีประมาณต่างๆ แปรผันไปตามการหมายรู้นั้นๆ
การสื่อความให้เข้าใจตรงกัน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย แม้เรื่องราวในระดับชีวิตประจำวัน แม้ในระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเช่น ในครอบครัวเดียวกันก็ตาม การผิดใจกันที่มีเหตุมาจากการสื่อความหมายที่ไม่ตรง ก็มีให้เห็นเป็นเรื่องปกติ
กับกรณีของปรากฏการณ์ทางจิต ซึ่งมีมิติละเอียดปราณีตที่สุดในระบบสังขตธรรม ใครเล่า จะมีความสามารถในการบัญญัติระบบคำพูด ที่ใช้ถ่ายทอดบอกสอนเรื่องจิตนี้ ให้ออกมาได้เป็นหลักมาตรฐานเดียวและใช้สอนเข้าใจตรงกันได้โดยไม่จำกัดกาลเวลา
“ดูกายดูใจ” “ดูจิต” “ตามดูตามรู้”
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วลีข้างต้นนั้น ถูกใช้พูดกันทั่วไปเป็นปกติในหมู่นักภาวนา ปกติจนเรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกมองข้ามเพิกเฉย (take for granted) ไป ราวกับว่าใครๆ ก็รู้กันหมดแล้วเหมือนคำที่ใช้กันเป็นประจำเช่น กินข้าว อาบน้ำฯ
หากพิจารณาให้ดี จะพบจุดสังเกต ๒ ข้อ
- เมื่อถูกถามลงไปในขั้นตอนโดยละเอียดว่าอะไรอย่างไรเกี่ยวกับดูกายดูใจดูจิตฯ คำตอบที่ได้ มีความหลากหลายแตกต่างกันไป แต่มีสิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ต่างก็อ้างว่ามาจากมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งเป็นทางเอกเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
- ในแง่ของความแตกต่างดังกล่าวนั้น ส่วนมากมักจะบอกกันว่า เป็นเรื่องธรรมดา “แล้วแต่จริต” จะปฏิบัติกันอย่างไร สุดท้ายแล้วก็ “ไปถึงที่หมายเดียวกัน”
เหตุการณ์ทั้ง 2 นี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับอริยสาวกผู้ประกอบพร้อมด้วยโสตาปัตติยังคะ 4 ผู้ถึงซึ่งศรัทธาอย่างไม่หวั่นไหว ในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์เป็นอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงการนับว่าเป็นคนของพระพุทธเจ้าโดยไม่มีข้อสงสัยแล้ว ย่อมที่จะรู้ด้วย อสาธารณญาณ โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกจากใครอื่นว่า ธรรมะที่ถูกบัญญัติโดยพระพุทธเจ้านั้น จะมีคุณลักษณะคล้องเกลียวเชื่อมโยงเป็นหนึ่ง
“ภิกษุทั้งหลาย นับแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปทิเสสนิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พรำสอนแสดงออกซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย”
– อิติวุ. ขุ. 25/321/293.
ก่อนพุทธปรินิพพาน ทรงรับสั่งไว้กับพระอานนท์เถระว่า ความสอดคล้องเข้ากันเป็นหนึ่งนี้ ให้ใช้เป็นหลักมาตรฐานในการตรวจสอบว่าอะไรใช่ หรือไม่ใช่พระธรรมวินัย (มหาปเทส 4) ยิ่งไปกว่านั้น ทรงระบุไว้ด้วยว่า หากรู้แล้วว่าไม่ใช่พระธรรมวินัยให้เราละทิ้งสิ่งนั้นไปเสีย
ความสามารถในการใช้บทพยัญชนะที่มีอรรถะ (ความหมาย) สอดคล้องกันเป็นหนึ่งเดียวนี้ เป็นพุทธวิสัยมิใช่สาวกวิสัย ทั้งนี้เพราะเหตุคือความต่างระดับชั้นกันของบารมีที่สร้างสมมา พระตถาคตสร้างบารมีมาในระดับพุทธภูมิ เพื่อให้ได้มา ซึ่งความเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระสาวก สร้างบารมีในระดับสาวกภูมิ เพื่อให้ได้มา ซึ่งโอกาสในการเป็นสาวกในธรรมวินัยนี้ ที่มาที่ไปของคำว่า ดูจิต หรือ ตามดูตามรู้ฯ ไม่ใช่เรื่องลึกลับซ้อนที่จะสืบค้น ตัวสูตรที่เป็นพุทธวจน เพื่อใช้ตรวจสอบเทียบเคียงตามหลักมหาปเทส ก็มีอยู่
ใช่หรือไม่ว่า ปัญหาที่แท้จริงทั้งกับในกรณีนี้ และอื่นๆ ทำนองเดียวกันนี้ คือ ความขี้เกียจ ความมักง่ายของชาวพุทธนั่นเอง ที่ไม่อยากเข้าไปลงทุนลงแรงศึกษาสืบค้นพุทธวจน แล้วไปคาดหวังลมๆ แล้งๆ ว่าน่าจะมีใครสักคนหนึ่งหรือสองคน ที่มีความสามารถพิเศษคิดค้นย่นย่อหลักธรรมที่พระตถาคตบัญญัติไว้เป็นสวากขาโตแล้วนั้นให้ง่ายสั้นลงกว่าได้
การเชื่อเช่นนี้ เป็นลักษณะความเชื่อของปุถุชนผู้มิได้สดับ มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ไดัสดับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า จึงไม่ทราบว่าพระสาวกมีภูมิธรรมจำกัดอยู่เพียงแค่เป็นผู้เดินตามมรรคที่พระตถาคตบัญญัติไว้เท่านั้น (มคฺคานุคา จ ภิกฺขเว เอตรหิ สาวกา วิหรนฺติ ปจฺฉา สมนฺนาคตา)
ผู้ที่สร้างบารมีมาในระดับสาวกภูมิ ไม่มีความสามารถในการคดิ สร้างมรรคขึ้นเอง ไม่เว้นแม้แต่พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา (ปัญญาวิมุตฺเตน ภิกฺขุนาติ) ก็ตาม
พระพุทธเจ้า (อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ) ในฐานะพระศาสดานั้น มีคุณสมบัติเหนือไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้รู้มรรค (มคฺคัญญู) รู้แจ้งในมรรค (มคฺควิทู) และเป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท)
พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่งป้องกันไว้ล่วงหน้าแล้วว่า สูตรใดๆ ก็ตามที่แต่งขึ้นใหม่ในภายหลัง แม้จะมีความสละสลวยวิจิตร เป็นของนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก ให้เราไม่สำคัญตนว่า เป็นสิ่งที่ควรเล่าเรียนศึกษา ในทางกลับกัน คำกล่าวของตถาคต อันมีความหมายลึกซึ้งนั้น ให้เราสำคัญตนว่าเป็นสิ่งที่ควรเล่าเรียนศึกษาและให้พากันเล่าเรียนศึกษาคำของตถาคตนั้น แล้วให้ไต่ถามทวนถามกันและกันในเรื่องนั้นๆ ว่าพระพุทธเจ้าทรงกล่าวเรื่องนั้นไว้อย่างไร
พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่งป้องกันไว้ล่วงหน้าแล้วว่า สูตรใดๆ ก็ตามที่แต่งขึ้นใหม่ในภายหลัง แม้จะมีความสละสลวยวิจิตร เป็นของนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก ให้เราไม่สำคัญตนว่า เป็นสิ่งที่ควรเล่าเรียนศึกษา ในทางกลับกัน คำกล่าวของตถาคต อันมีความหมายลึกซึ้งนั้น ให้เราสำคัญตนว่าเป็นสิ่งที่ควรเล่าเรียนศึกษาและให้พากันเล่าเรียนศึกษาคำของตถาคตนั้น แล้วให้ไต่ถามทวนถามกันและกันในเรื่องนั้นๆ ว่าพระพุทธเจ้าทรงกล่าวเรื่องนั้นไว้อย่างไร
ข้างต้นนี้ คือวิธีการเปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน และชาวพุทธที่มีการศึกษาในลักษณะนี้ (ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โน อุกฺกาจิต วินีตา) พระพุทธองค์ทรงเรียกว่าเป็นพุทธบริษัทอันเลิศ
ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นแบ่งฐานที่ตั้งแห่งสติออกเป็น 4 ฐาน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยแต่ละฐานมีรายละเอียดระบุชัดเจนว่าปฏิบัติอย่างไร ขอบเขตแค่ไหน และจบลงอย่างไร
ผู้ที่ศึกษาพุทธวจนโดยละเอียดรอบคอบ ย่อมที่จะเข้าใจแง่มุมต่างๆ โดยลึกซึ้งครบถ้วน และย่อมที่จะรู้ได้ว่าความแตกต่างในมรรควิธีมีได้ แต่ไม่ใช่มีโดยสะเปะสะปะไร้เงื่อนไขขอบเขต หากแต่มีได้หลากหลายได้ ภายใต้พุทธบัญญัติซึ่งมีลักษณะเชื่อมโยงสอดคล้องเป็นหนึ่ง ผลอานิสงส์มุ่งหมายในที่สุด ก็สามารถเข้าถึงได้ ด้วยวิธีอันหลากหลายภายใต้ความเป็นหนึ่งนี้
ในวาระนี้ จะขอยกหมวดของ จิตตานุปัสสนา คือการตามเห็นในกรณีของจิตขึ้นเป็นตัวอย่าง
ปัจจุบันมีผู้ที่ดูจิตหรือดูอาการของจิตโดยใช้คำอธิบายสภาวะของจิตซึ่งบัญญัติขึ้นใหม่เอง แล้วหลงเข้าใจไปว่า การฝึก ตามดูตามรู้สภาวะนั้นๆ ไปเรื่อยๆ คือ การเจริญสติ คือการดูจิต หากพิจารณาโดยแยบคายแล้ว คำเรียกอาการของจิต ที่คิดขึ้นใหม่เองทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเพียงการตั้งชื่อเรียกอารมณ์อันมีประมาณต่างๆ และการตามเห็นสภาวะนั้นๆ ไปเรื่อยๆ ก็คือการฝึกผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน (ฝึกจิตให้มีสัญโญคะ)
จะด้วยเหตุอย่างไรก็ตาม แต่ระบบคำเรียกที่ต่างกันตรงนี้ อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากเทียบในระดับความละเอียดของจิตแล้ว องศาที่เบี่ยงเพียงเล็กน้อย ณ จุดตรงนี้ สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่สุดในการปฏิบัติ คืออานิสงส์มุ่งหมายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
นัยยะหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้เราตามเห็นจิต (จิตฺตานปุสฺสนา) แท้จริงแล้วก็เพื่อ ให้เห็นเหตุเกิดและเสื่อมไปโดยอาศัยการตามเห็น “อาการของจิต” เพียงแค่ 8 คู่อาการเท่านั้น
อินทรียสังวร 7 ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้
(๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีราคะ ว่า “จิตมีราคะ”
(๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากราคะ ว่า “จิตปราศจากราคะ”
(๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า “จิตมีโทสะ”
(๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโทสะ ว่า “จิตปราศจากโทสะ”
(๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโมหะ ว่า “จิตมีโมหะ”
(๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโมหะ ว่า “จิตปราศจากโมหะ”
(๗) รู้ชัดซึ่งจิตอันหดหู่ว่า “จิตหดหู่”
(๘) รู้ชัดซึ่งจิตอันฟุ้งซ่านว่า “จิตฟุ้งซ่าน”
(๙) รู้ชัดซึ่งจิตอันถึงความเป็นจิตใหญ่ว่า “จิตถึงแล้วซึ่งความเป็นจิตใหญ่”
(๑๐) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่ว่า “จิตไม่ถึงแล้วซึ่งความเป็นจิตใหญ่”
(๑๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าว่า “จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า”
(๑๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า”
(๑๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันตั้งมั่นว่า “จิตตั้งมั่น”
(๑๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ตั้งมั่นว่า “จิตไม่ตั้งมั่น”
(๑๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้วว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”
(๑๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังไม่หลุดพ้นว่า “จิตยังไม่หลุดพ้น”
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิต (จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ) อันเป็นภายในอยู่บ้าง, ในจิตอันเป็นภายนอกอยู่บ้าง, ในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง;
และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุ เกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในจิตอยู่บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตูทั้งเกิดขึ้นและเสื่อมไปในจิตอยู่บ้าง;
ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “จิตมีอยู่” ดังนี้ ของเธอนั้นเป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่อความอาศัยระลึก.
ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้.
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติตามเห็นจิตในจิตอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
– มหาสติปัฏฐานสูตร มหาวาร. สํ. 10/331/289.
จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้ามิได้ให้เราฝึกตามดูตามรู้เรื่องราวในอารมณ์ไปเรื่อยๆ และ การตามดูตามรู้ซึ่งจิต (จิตฺตานุปสฺสนา) จะต้องเป็นไปภายใต้ 8 คู่อาการนี้เท่านั้น
สมมุติสถานการณ์ตัวอย่าง เช่น ในขณะที่เรากำลังโกรธอยู่
ในกรณีนี้ หน้าที่ของเรา ที่ต้องทำให้ได้ คือ “รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า จิตมีโทสะ” ไม่ใช่ไปตามดูตามรู้โทสะ (หรือรู้ในอารมณ์ที่จิตผูกติดอยู่) ในจิตอันมีโทสะขณะนั้น
ปัญหามีอยู่ว่า โดยธรรมชาติของจิต มันรู้ได้อารมณ์เดียวในเวลาเดียว (one at a time) ในขณะที่เรากำลังโกรธอยู่นั้น เราจึงต้องละความเพลินในอารมณ์ที่ทำให้เราโกรธเสียก่อน ไม่เช่นนั้น เราจะไม่มีทาง “รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า จิตมีโทสะ” ได้เลย
มีผัสสะ >> จิตรับรู้อารมณ์ >> มีสติ >> ละความเพลิน >> รู้ชัดซึ่งจิต
ในระหว่างขั้นตอนข้างต้น ถ้าเราสามารถเห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้นหรือเสื่อมไปในจิตได้ การเห็นตรงนี้ เรียกว่า วิปัสสนา ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ โปรดสังเกต สติปัฏฐานสี่ทุกหมวด จบลงด้วยการเห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป ขั้นตอนของสติที่เข้าไปตั้งอาศัยในฐานทั้งสี่ เป็นเพียงบันไดขั้นหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่จุดหมาย
เมื่อผัสสะถูกต้องแล้ว หากเราหลงเพลิน “รู้สึก” ตามไปเรื่อยๆ นี่คือ อนุสัย (ตามนอน) หากละความเพลินในอารมณ์แล้วมาเห็นจิตโดยอาการ 8 คู่ข้างต้น นี่คืออนุปัสสนา (ตามเห็น) และ ถ้ามีการเห็นแจ้งในธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเหตุเสื่อมไปในจิต นี่คือ วิปัสสนา (เห็นแจ้ง)
ถ้าหากว่า เราไม่สามารถรู้ชัดซึ่งจิตโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 8 คู่ ข้างต้นได้ให้ดึงสติ กลับมารู้ที่ฐานคือกาย เช่น อิริยาบถ หรือ ลมหายใจ พลิกกลับเป็นกายานุปัสสนา อย่ามักง่ายไปคิดคำขึ้นใหม่ เพื่อมาเรียกอารมณ์ที่จิตหลงอยู่ในขณะนั้น เพราะนั่นคือจุดเริ่ม ของการเบี่ยงออกนอกมรรควิธี (ไปใช้คำอธิบายอาการของจิตที่นอกแนวจากพุทธบัญญัติ เป็นผลให้หลงเข้าใจได้ว่า กำลังดูจิตทั้งๆ ที่กำลังเพลินอยู่ในอารมณ์ขาดสติ แต่หลงว่ามีสติ)
นี้เป็นเพียงตัวอย่างของการตามเห็นในกรณีจิตตานุปัสสนา คือใช้จิตเป็นฐานที่ตั้งของสติ ในกรณีของ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา พึงศึกษาในลักษณะเดียวกัน คือปฏิบัติตามพุทธวจนในกรณีนั้นๆ ให้ถูกต้องครบถ้วนทั้งโดยอรรถะและโดยพยัญชนะ
พระพุทธเจ้ามองเห็นธรรมชาติในจิตของหมู่สัตว์ในแบบของผู้ที่สร้างบารมีมาเพื่อบอกสอน การบัญญัติมรรควิธี จึงเป็นพุทธวิสัย หน้าที่ของเราในฐานะพุทธสาวกมีเพียงอย่างเดียว คือ ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติโดยระมัดระวังอย่างที่สุด (มคฺคานุคา จ ภิกฺขเว เอตรหิ สาวกาฯ)
เมื่อเข้าใจความหมายของการตามเห็น (อนุปสฺสนา) และการเห็นแจ้ง (วิปสสฺนา) แล้ว ทีนี้จะมีวิธีอย่างไร ที่จะทำให้อัตราส่วน Ratio ของ วิปัสสนา ต่อ อนุปัสสนา มีค่าสูงที่สุด (คือ เน้นการปฏิบัติที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อความลัดสั้นสู่มรรคผล)
ตัวแปรหลักที่เป็นกุญแจไขปัญหานี้ คือ สมาธิ
ตัวแปรหลักที่เป็นกุญแจไขปัญหานี้ คือ สมาธิ
ตราบใดที่จิตยังซัดส่ายไปๆ มาๆ ทั้งการอนุปัสสนาก็ดีและการวิปัสสนาก็ดีต่างก็ทำได้ยาก พระพุทธเจ้าจึงทรงรับสั่งว่า ให้เราเจริญสมาธิ เพื่อให้ธรรมทั้งหลายปรากฏตามเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง
ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร?
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.
– ขนฺธ. สํ. 17/17-18/27.
นอกจากนี้แล้ว พระพุทธองค์ยังทรงแนะนำเป็นกรณีพิเศษ สำหรับกรณีที่จิตตั้งมั่นยาก เช่น คนที่คิดมาก มีเรื่องให้วิตกกังวลมาก ย้ำคิดย้ำทำ คิดอยู่ตลอดเวลา หยุดคิดไม่ได้ หรือ คนที่เป็น hyperactive มีบุคลิกภาพทางจิตแบบ ADHD ซึ่งมีปัญหาในการอยู่นิ่ง ทรงแนะนำวิธีแก้ไขอาการเหล่านี้ โดยการเจริญทำให้มาก ซึ่งอานาปานสติสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหว โยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้ เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ
เมื่อถึงตรงนี้ แม้จะไม่เอ่ยถึง เราก็คงจะเห็นได้ชัดแล้วว่า ความสงบแห่งจติ (สมถะ) นั้น จะต้องดำเนินไปควบคู่ และเกอื้ หนนุ กับระดับความสามารถในการเห็นแจ้ง (วิปัสสนา) ซึ่งพระพุทธองค์เองได้ตรัสเน้นย้ำในเรื่องนี้ไว้โดยตรงด้วย
– มหา. สํ. 19/400/1325.
เมื่อถึงตรงนี้ แม้จะไม่เอ่ยถึง เราก็คงจะเห็นได้ชัดแล้วว่า ความสงบแห่งจติ (สมถะ) นั้น จะต้องดำเนินไปควบคู่ และเกอื้ หนนุ กับระดับความสามารถในการเห็นแจ้ง (วิปัสสนา) ซึ่งพระพุทธองค์เองได้ตรัสเน้นย้ำในเรื่องนี้ไว้โดยตรงด้วย
ภิกษุทั้งหลาย. ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไรเล่า? สมถะ และ วิปัสสนา เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.
– จตุกฺก. อํ. 21/334/254.
ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง มีสองอย่าง คือ ทั้งสมถะ และวิปัสสนา นั่นหมายความว่า ทั้งสมถะ และวิปัสสนา เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยปัญญาอันยิ่งในการได้มา ดังนั้น ใครก็ตามที่มีความสามารถในการทำจิตให้ตั้งมั่นได้ บุคคลนั้นมีปัญญาอันยิ่ง ใครก็ตามที่จิตตั้งมั่นแล้วสามารถเห็นแจ้งในธรรมอันเป็นเหตุ บุคคลนั้นมีปัญญาอันยิ่ง
สำหรับบางคนที่อาจจะเข้าใจความหมายได้ดีกว่า จากตัวอย่างอุปมาเปรียบเทียบ พระพุทธองค์ได้ทรงยกอุปมาเปรียบเทียบไว้ในฌานสูตร ว่าเหมือนกับการฝึกยิงธนู เมื่อพิจารณาแล้ว จะพบว่ามีตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องปรับให้สมดุลย์ เช่น ความนิ่งของกาย วิธีการจับธนู การเล็ง นำหนัก และจังหวะในการปล่อยลูกศร อุปมานี้ พอจะทำให้เราเห็นภาพได้ดี ในการเจริญสมถะวิปัสสนาด้วยปัญญาอันยิ่ง ว่าการเห็นแจ้งในธรรมอันเป็นเหตุนั้น จะต้องอาศัยความสมดุลย์ต่างๆ อย่างไรบ้าง
หากจะพูดให้สั้นกระชับที่สุด การตามดูไม่ตามไปนี้ แท้จริงแล้วคือ การไม่ตามไป เพราะเมื่อไม่ตาม (อารมณ์อันมีประมาณต่างๆ) ไป มันก็เหลือแค่การตามดูที่ถูกต้อง หลักการไม่ตามไปนี้ ก็คือ หลักการละนันทิ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับหลักอินทรียสังวร ภิกษุมิคชาละฟังธรรมเรื่องการละนันทิแล้วหลีกจากหมู่ไปอยู่ไปอยู่ผู้เดียวก็บรรลุอรหัตตผล ความเร็วในการละนันทิ ยังถูกใช้เป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติจิตภาวนา (ดูความเชื่อมโยงได้ในเรื่อง อินทรียสังวร, การไม่ประมาท, อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ)
คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอนอบน้อมสักการะต่อ ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ และ ภิกษุสาวกในธรรมวินัยนี้ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนถึงยุคปัจจุบัน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสืบทอดพุทธวจน คือ ธรรม และวินัย ที่ทรงประกาศไว้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว
คณะศิษย์พระตถาคต
ชัดเจน…อนุโมทนา
26 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น