วันนี้หากเราแบ่งนักปฏิบัติเป็น 2 พวกใหญ่ๆ จะแบ่งได้เป็น
- หน่วยศึกษาวิจัยขี้
- หน่วยทิ้งขี้
หน่วยแรกได้ยินมาแล้วว่า “ขี้” มันไม่ดี แต่มันอดไม่ได้อยากรู้อยากเห็น พวกนี้มักจะบอกตัวเองมีปัญญา ต้องรู้ให้ได้ว่า “ขี้” มันมีส่วนผสมอะไรถึงได้เหม็นและสกปรก มีแบคทีเรียกี่ชนิด เป็นชนิดที่มีพิษร้ายอย่างไรบ้าง เมื่อวิเคราะห์ด้วยเหตุและผล จนแจ่มแจ้งแล้วจึงคิดได้ว่า ไฉนเลยเราจะมาเสียเวลาดูขี้ดมขี้อยู่ทำไม เราทิ้งมันเสียดีกว่า
หน่วยที่สอง ได้ยินมาเหมือนกันว่าขี้ไม่ดี ทุกครั้งที่มีขี้กระเด็นมาโดนก็จะรีบล้างออก ทุกครั้งที่เข้าไปพบไปเจอ ก็จะรีบทิ้ง รีบออกห่าง ประเภทนี้ไม่เล่นขี้ ไม่เอาขี้ ฝึกที่จะทำความรู้จักว่าอะไรคือ “ขี้” แล้วทิ้งทันที พวกนี้ มือไม่เปื้อนขี้ ไม่เหม็นขี้ หน่วยนี้ไม่ต้องรอทิ้ง “ขี้” เพราะทิ้งมาตลอด ไม่เคยมานั่งดอมดม “ขี้” เพราะ “ขี้” นี่เล่นนานๆ จะเห็นดีเห็นงามพาลติด “ขี้” ได้ง่ายๆ ชีสเน่าฝรั่ง (ก็ยัง) ชอบ ปลาเน่า (ปลาร้า) คนไทย (ก็) ชอบ
ดูเผินๆ บุคคลากรใน 2 หน่วยนี้ สุดท้ายไม่เอา “ขี้” ทั้งคู่ แต่ระหว่างทางก่อนจะทิ้ง “ขี้” นั้น จะต่างกันนะ หน่วยแรก วิจัยไปวิจัยมา “ร้” มาก เลยผูกพันกับ “ขี้” แต่มันลึกกว่านั้น ไม่ใช่ว่าไปผูกพันที่ตัว “ขี้” หรอก แต่ดันไปผูกพันกับความเก่งกาจที่ไป “รู้ขี้” ได้ต่างหาก เลยกลายเป็น “กูรู้ขี้ได้เก่งกว่าใคร” ตรงนี้เหนื่อยเลย “ขี้” กองใหม่ละเอียดกว่ากองเดิมอีกทีนี้ มันท่าจะหอมหวลชวนดม เพราะชักคุ้น
ส่วนพวกทิ้ง “ขี้” พอไม่มีขี้ก็สบาย ทำท่าจะไปติดสบายอีก แต่อันนี้ง่ายหน่อย เพราะทิ้ง “ขี้” มาจนชำนาญ ทิ้ง น้ำตาล ก็ทิ้งมาแล้ว ทิ้งน้ำเปล่ามันจะยากอะไร แค่ของเกิดๆ ดับๆ
ศึกษาคำจาก บรมครูให้ดีนะว่า ท่านสอนให้ทิ้ง “ขี้” หรือ “ให้ดม “ขี้”
ภพแค่เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็น่ารังเกียจ ดุจมูตรคูถ : พุทธพจน์
22 มีนาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น