ต้องเห็นเกิดดับแบบไหน ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้

ในชีวิตประจำวัน: คิดปรุงแต่ง > รู้ลม > อุเบกขา ทำให้ได้
บ่อยๆ เนืองๆ มาก-มากที่สุด

ในการนั่งสมาธิ: รู้ลม > เผลอคิด > รู้ลม > อุเบกขา > แว้บไปคิด > กลับมารู้ลม > อุเบกขาสทำอยู่อย่างนี้ไปเรื่อย

จนวันหนึ่ง…ตั้งมั่นขึ้น สงบขึ้น จะเห็นอย่างนี้นะ (จะทำเป็นรูปธรรมให้ดูแล้วกัน)
  1. เอาแก้วมา 4 ใบกับถุงกระดาษสีน้ำตาลแบบถุงแม็คโดนัลด์มา 1 ใบ (เพราะถ้าบอกเอาถุงใส่กล้วยแขกเด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จัก) เอาแก้ววางคว่ำแล้วเขียนชื่อที่แก้วแต่ละใบว่า “รูป (กาย)” “เวทนา (พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ)” “สัญญา (จำได้หมายรู้)” “สังขาร (คิด ปรุงแต่ง)” ส่วนถุงนั้นเขียนคำว่า “วิญญาณ (รู้อารมณ์)”
  2. เขียนชื่อที่ฝ่ามือขวาว่า “จิต” จากนั้นใส่ถุงมือสีขาวข้างขวานั้น ที่ถุงมือเขียนว่า “ใจ”
  3. เอาถุงกระดาษสีน้ำตาลที่เขียนว่า “วิญญาณ” ครอบมือขวาที่ใส่ถุงมือนั้น ดังนั้นมือขวาตอนนี้จึงมี จิต ใจ และวิญญาณ อยู่ด้วยกันล่ะนะ
เอาล่ะ ถึงเวลาดูการทำงานของขันธ์และจิตกัน

ตอนนี้ให้ทุกคนรู้ลมหายใจไว้ รู้จริงๆ เลย
  1. เอามือขวาไปจับแก้วที่เขียนว่า “รูป” จิตตั้งอยู่ที่ลมใช่ไหม หรือจะบอกว่าจิตตั้งอยู่ที่กายก็ได้ (กายคตาสติ) ลมหายใจเขาเรียกกายลม หรือจะบอกว่าขณะนี้ วิญญาณตั้งอาศัยอยู่ที่รูป ก็ได้ เอาง่ายๆ อย่างนี้ก่อน รู้ลมไปเรื่อยๆ ดูมือขวาที่จับแก้ว (รูป) ไว้
สักพักสเผลอไปคิด
  1. เอามือขวาปล่อยจากแก้ว (รูป) ไปจับแก้วสังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) แทน
เวลาคิดจะเกิดเป็นความรู้สึกขึ้นมาเป็น สุข ทุกข์ อุเบกขา
  1. จากนั้นให้ปล่อยแก้วสังขาร ไปจับ แก้วเวทนา
สักพักแว้บไปเห็นหน้าคนที่เราไม่ชอบ
  1. ปล่อยแก้วเวทนาไปจับ แก้วสัญญา
จากนั้นเกิดความไม่พอใจคือทุกข์
  1. ปล่อยแก้วสัญญา ไปจับแก้วเวทนา
สติระลึกขึ้นมา กลับมารู้ลม
  1. ปล่อยแก้วเวทนาสมาจับที่แก้วรูปแทน

สรุป

  1. จิต มโน (ใจ) วิญญาณ คือคำที่ใช้แทนกันสตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไปไหนไปด้วยกัน แต่วันหนึ่งจะพบความจริงเมื่อสามตัวนี้แยกกันค่อยว่ากันใหม่ วันนี้เน้นให้เห็นการเกิดดับตามจริงก่อน มือขวาจะจับขันธ์อื่นๆ อีก 4 ขันธ์ไปเรื่อยๆ เห็นไหม
  2. เมื่อวิญญาณตั้งอยู่ที่รูป หรือ กาย หรือลมหายใจนั้น เขาเรียก กายคตาสติ จะเกิดเป็นอุเบกขา หรืออุเบกขาสุข
  3. เมื่อวิญญาณตั้งอยู่ในฐานของนามธรรมคือขันธ์ที่เป็น เวทนา สัญญา สังขาร จะเกิดเป็น 3 อารมณ์คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา ใช่ไหม? นี่คือเหตุว่าทำไมจึงให้จิตหรือวิญญาณมาตั้งไว้ที่รูป เพราะเกิดเป็นอุเบกขานั่นเอง แล้วก็อาศัยอุเบกขานี่ล่ะเดินทางต่อไปสุญญตา เพราะอุเบกขายังเกิดดับอยู่
  4. เอาละเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เราจะดูกันที่ความคิด (สังขาร) ตัวเดียว ถ้ารู้ลม คิดไม่ได้ ถ้าคิดก็ไม่รู้ลม กลับมาดูตัวอย่าง มือขวาจับแก้วรูป > ปล่อยแก้วรูป > จับแก้วสังขาร ทำกลับไปกลับมา แล้วจำภาพนี้ไว้
วิญญาณรู้ได้ทีละหนึ่งเดียวใช่ไหม?

ปัญญาเห็นถูกคือ
  • สมถกรรมฐานใช้การเพ่ง การบริกรรมเข้าไปแทนที่สัญญาและสังขาร โดยจะได้ผลเป็นหวยล็อคคือ อุเบกขา ความสุขจากอุเบกขาสุขจะเกิด ไม่ใช่สุกแบบร้อนๆ จากการตอบสนองตัณหา
  • เมื่อทำให้มากจนจิตตั้งมั่น จะเห็นการเกิดปรากฏเมื่อวิญญาณไปตั้งอยู่ที่รูป รูปปรากฏ เมื่อวิญญาณไปเกาะที่สังขาร คิดปรากฏ แต่ก่อนไปเกาะสังขารต้องดับไปจากรูปก่อน แล้วจึงไปเกิดที่คิด พอสติระลึกก็กลับมารู้ลม นั่นวิญญาณดับลงจากสังขารมาเกิดที่รูป
  • ในเบื้องนี้จิตจะเห็นขันธ์ 4 ขันธ์เกิดดับ ซึ่งก็เพียงพอที่จะเป็นพระโสดาบันได้ แต่เมื่อมีการละอารมณ์ไม่เฝ้าดูนามขันธ์ทั้งหลาย จะเห็นวิญญาณดับไปเช่นกันแล้วจึงเกิดใหม่ จึงได้เห็นว่าวิญญาณเองก็เกิดดับเช่นกัน ทีนี้เมื่อวิญญาณดับก็จะเริ่มว่างแล้ว
  • ขันธ์ 5 เกิดๆ ดับๆ ตัวเราไม่มี จิตโง่ไปยึดขันธ์เป็นเรา พอเกิดอารมณ์จิตก็ซึมซับอารมณ์นั้นเข้ามาเป็นไปกับเขาด้วย (ฝ่ามือมันติดกับถุงมือ พอจิตตั้งมั่น ฝ่ามือจะไม่ติดกับถุงมือ) ไม่ใช่เรื่องของตัวเองก็ไปสร้างตัวเองมารับ จิตไปยึดถือทุกขันธ์ที่ไปสัมผัส มันจึงเป็นเราหมดเลย ไม่ทุกข์ยังไงไหว
  • พระพุทธเจ้าตรัสว่า อริยสาวกผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความเห็นผิด ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ไม่มีอะไรนอกจากของเกิดดับ
เห็นตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้เป็นพระโสดาบันแล้ว และพระองค์ยังบอกต่อไปอีกว่า อริยสาวกผู้เห็นอย่างนี้ไม่ต้องไปเห็นอย่างอื่นเลยในที่สุดจะถึงความเป็นพระอรหันต์ เอาไว้เท่านี้ก่อนเดี๋ยวจะยิ่งยาก แค่นี้ง่ายแล้ว เข้าใจได้แล้ว

สิ่งเกิดดับเป็นทุกข์ สิ่งเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ใครไปยึดก็ทุกข์นะสิ ฝึกรู้ลมให้มากจะได้สมถะ เกิดความสุขเข้ามาแทนที่ทุกข์ เมื่อสุขสงบก็ตั้งมั่นไปเห็นการเกิดดับอย่างนี้ ศีลก็รักษาให้บริสุทธิไว้ ละอกุศลที่เกิดขึ้นในใจให้ไวๆ แล้วรู้ลมอย่างที่บอก จากลมหายใจกู จะกลายเป็นสักแต่ลมหายใจ จากกูรู้ลมกลายเป็นสภาพรู้ไม่มีผู้รู้ ทำไปอย่างนี้ ชาตินี้มีความหวังแล้ว

จิตคนทั่วไปไม่มีกำลัง ไม่ชุ่มเย็น เพราะไม่ค่อยทำกุศลให้ผู้อื่นเป็นสุข ทำกุศลข้างนอกมากๆ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จะเกิดธรรมารมณ์มากระทบให้ใจเป็นสุขเป็นกุศล คนแบบนี้จะเดินกรรมฐานได้ดีมาก ขอให้ได้พบสิ่งที่ปรารถนา (ด้วยความเพียร)


เขียนเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น