มรรคองค์ที่ 2 ทุกข์เริ่มจากการมุ่งร้าย การเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่น จัดการด้วยการมีศีล ศีลจะดูแลกายและวาจาที่จะไปเบียดเบียน พยาบาทผู้อื่น
ทุกข์มาจากการไปเสพติดกามคุณเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พูดง่ายๆ คือหลงเป็นทาสวัตถุนิยม แบรนด์ดัง อาหารอร่อย ฯลฯ จัดการด้วยเนกขัมมะเสีย พรากออกจากกามที่หลงยึดไว้ ไม่พรากไม่รู้นะ พรากออก อดทนสู้ไม่ถอย ให้เห็นโทษภัย ใครติดยาเสพติดก็ว่ายาเสพติดดี แต่เมื่อพรากแล้วทุกข์ทรมานจะเกิด คนสองประเภท ประเภทหนึ่ง มีปัญญาเห็นว่าการเสพติดมันทุกข์มากแล้วพยายามเลิกมันให้ได้เพื่อจะได้พ้นทุกข์ ประเภทที่สอง เห็นว่าการเลิกนั้นทุกข์จะตาย เสพต่อดีกว่ามีความสุข คนติดยาก็จะติดยาต่อไปด้วยความโง่
เมื่อพรากจากกามคุณและไม่ทำอกุศลทางกายทางวาจาได้ จิตใจจะสงบในระดับที่ง่ายต่อการเจริญสมาธิ เพื่อการจัดการกับทุกข์ในจิตใจระดับต่อไป
ทุกข์มาจากใจที่ไปคิดเรื่องอกุศล สาเหตุมาจากสิ่งที่สั่งสมมายาวนาน ทั้งเห็นแก่ตัว อยากได้ไม่อยากให้ เห็นแต่เรื่องไม่ดีของคนอื่น ตัวเองดีหมด
จากนั้นจึงต้องเพียรละอกุศลในใจ ละอกุศลเจริญกุศล รู้ลมไว้
เติมกุศลในใจ เพียรเจริญกุศลไว้คือ อานาปานสติก็ดี เมตตาก็ดี ฯลฯ รู้ลมหายใจไว้มากๆ ในชีวิตช่วงไหนว่าง รู้ลมหายใจ (อ่านอยู่ หยุดอ่านตรงนี้เลย…รู้ลมแทน…หลายๆ ครั้ง แล้วค่อยอ่านต่อ)
ระยะนี้อกุศลจะถูกชำระด้วยกุศล โดยหลักการแน่นอนว่า อกุศลต้องลด กุศลต้องเพิ่ม ผลคือจะสงบสุขในใจมากขึ้นแน่ๆ จิตใจจะตั้งมั่น เป็นสุขสงบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลจากการรู้ลม จากนี้การนั่งสมาธิจะสงบขึ้นเองโดยธรรมชาติ ช่วงนี้ทำทั้งในรูปแบบคือการเดินจงกรม นั่งสมาธิและรู้ลม มีสติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวันไว้ให้มาก
ศีลก็บริบูรณ์ขึ้นมา ไม่ว่าร้ายใคร ไม่เบียดเบียนด้วยกาย เริ่มพรากออกจากการยึดติดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ได้มากขึ้น จิตใจจะสงบตั้งมั่น ปราศจากนิวรณ์มารบกวน อกุศลในใจก็ละไปด้วยการรู้ลมแทน เมื่อรู้ลมก็เกิดเวทนาขึ้นเฉพาะคืออุเบกขา ทุกข์ เริ่มลดลงๆ ความตั้งมั่นของจิตจะสูงขึ้น จะเริ่มเห็นว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ก็ดับไป สุขเกิดขึ้น สุขก็ดับไป เฉยๆ เกิดขึ้น เฉยๆ ก็ดับไป จนเห็นสรรพสิ่งภายนอกก็เช่นกัน ความรู้ความเห็นเข้าไปในระดับจิตมากเข้า ไม่เหมือนเมื่อก่อนมันรู้ระดับสมอง
เมื่อความคิดเกิดขึ้น สติระลึก กลับมารู้ลม จังหวะนี้จะเห็นว่าวิญญาณตั้งอาศัยที่สังขาร เกิดเป็นอารมณ์ในคิด เมื่อละมารู้ลม วิญญาณจะดับลงจากสังขารมาเกิดขึ้นที่รูปแทน สักพักก็เผลอไปคิดอีก ก็ทำนองเดียวกัน วิญญาณดับลงจากรูปแล้วไปเกิดที่สังขารอีก จะเห็นการเกิดดับในอย่างนี้ไปเรื่อย รวมถึงในขันธ์อื่นๆ ด้วยคือ เวทนา (ความพอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ) สัญญา (ความจำได้หมายรู้) จะค่อยๆ เห็นว่าไม่มีเรา ขันธ์ทำงานกันเอง เมื่อมีผัสสะมากระทบก็จะเกิดเป็นอาการต่างๆ เป็นผลออกมาหรือจะเรียกว่าพฤติกรรมก็ได้ แสดงว่าหากจะเปลี่ยนพฤติกรรมใครต้องไปแก้ที่สันดานที่สั่งสมมา ความเพียรในการละทั้งหลาย ตั้งแต่ศีลมา ความเพียรละอกุศลในใจมา จนความเพียรสร้างกุศลนั้นเริ่มไปเปลี่ยนสันดานใหม่ ตรงนี้อยู่ในมรรคตั้งแต่ข้อ 2-3-4-5-6 เพราะฉะนั้นการปรับเปลี่ยนสันดานเดิมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปจัดการกับความเคยชินในการตอบสนองที่เป็นอกุศล
เมื่อสันดานเดิมเริ่มเปลี่ยนมาเป็นนิสัยที่กุศลเป็นหลัก ใจจะสงบเยือกเย็น ไม่เร่าร้อน จิตจะตั้งมั่นได้ง่าย เห็นการเกิดดับ จนเบื่อหน่ายคลายความยึดถือในความทุกข์ และแม้นความสุขก็ล้วนของเกิดดับ จะเริ่มปล่อยวาง จะเกิดการดับว่าง จากจุดเป็นเส้น จากน้อยไปมาก เห็นความจริงโดยลำดับจนสามารถละความเห็นผิดว่ากายเป็นเรา จิตเป็นเรา ทุกข์ลดลงมหาศาล เพราะที่ทุกข์กันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะเห็นผิดว่ามีเรานี่ล่ะ
จากนั้นแม้ละความเห็นผิดลงไปได้แล้ว เพราะจากการเฝ้าสังเกตรูปนาม (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) มาตลอด เข้าใจว่าขันธ์ทั้งหลายเกิดดับ (แต่วิญญาณหรือจิตกลับไม่เห็นว่าตัวเองก็เกิดดับ) จิตจึงยึดถือความรู้หรือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าดูมาตลอด ตรงนี้หากไม่ใช้การละอารมณ์ให้วิญญาณดับจากขันธ์ที่เป็นนามธรรม ให้วิญญาณมาตั้งอาศัยที่รูปแทนหรือที่เรียกว่ากายคตาสติ การภาวนาที่ผ่านมาจะเกิดปัญหาตรงนี้มาก เพราะจิตไม่เห็นตัวเองเกิดดับ เราคิดเอาเองก็ไม่ได้เพราะเขาต้องเห็นเอง สร้างเหตุไว้อย่างไร ผลก็เป็นอย่างนั้น รู้แล้วต้องปล่อยต้องทิ้งทันที ให้วิญญาณดับลงไปด้วย ไม่ให้สืบเนื่องไปในขันธ์ของนามธรรม ให้ละแล้วมาอยู่กับรูป ไม่เช่นนั้นก็จะก่อเป็นภพ
ถึงตรงนี้จิตจะคลายความยึดถือในขันธ์ อารมณ์ต่างๆ เริ่มดับไป ดับไปก็เงียบ ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ กุศลก็ไม่เอา ไม่ยึด ไม่หลงเสพอีก แต่ก็ทำกุศลไปไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนรูปธรรมทั้งหลายไม่สามารถทำความกระทบกระเทือนต่อจิตได้อีก จิตโปร่งเบาเป็นอิสระจากรูป หมดความเกาะเกี่ยว ไม่ดึงเข้า ไม่ผลักออกต่อรูป เสียง กลิ่น รส ที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย อีก ใครทำอะไรๆ ก็ไม่เอาโกรธอีก ไม่เห็นมีอะไร
จากนั้นทุกข์เบาบางเต็มที จะเหลืออยู่ที่ยังทุกข์บ้างก็เพราะไปยึดในกุศลบ้าง ในทิฏฐิบ้าง ฯลฯ ก็เพราะยังไม่เห็น สัพเพ ธัมมา อนัตตา จนเมื่อเห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้งว่า “นอกจากทุกข์แล้ว ไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรดับไป” สิ่งเกิดดับล้วนเป็นทุกข์ สิ่งเป็นทุกข์ล้วนเป็นอนัตตา
อนัตตาคือสิ่งทั้งปวงมีเหตุให้เกิดก็เกิด หมดเหตุก็ดับ สิ่งนี้แม้จะว่างจากตัวตนแต่ยังมีเหตุเกิดอยู่ เมื่อเห็นถึงที่สุดวางในขั้นสุดก็เข้าสู่สุญญตา ที่ๆ ไม่มีเกิด ไม่ดับอีกต่อไป ปล่อยจากความยึดถือสิ่งเกิดดับ ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนักนะ! ตัวขันธ์เองก็เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อเห็นแจ่มแจ้งในอริยสัจ 4 จิตเองจึงปล่อยความยึดถือในขันธ์ พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติว่า นิพพาน ผู้รู้ที่เป็นวิญญาณเกิดดับก็ถูกปลดปล่อย แม้นมีอยู่แต่ไม่มีราคะ นันทิและตัณหา เป็นเชื้อให้ไปตั้งอาศัยในขันธ์อื่นๆ จึงเป็นของว่างทันที ชั้นนี้แม้นสติเองก็เป็นธรรมฝ่ายเกิดดับ ถึงสภาพนี้สรรพสิ่งกลายเป็นความเคยชิน หมดเจตนาต้องถือต้องประคอง อิสระ เกิดเป็นวิมุตติญาณทัสนะ ไม่ยึดอะไรๆ มาเป็นเราอีกต่อไป ถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่ตรงนี้
“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
สรุป
เดินทางอยู่ตรงไหน ขาดอะไร ลองตรวจสอบดูคร่าวๆ สำคัญคือต้องสู้ เพียรไม่หยุด อย่าเอาแต่สนุกสนานไปวันๆ หลงไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปในใจ
เขียนเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554
ทุกข์มาจากการไปเสพติดกามคุณเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พูดง่ายๆ คือหลงเป็นทาสวัตถุนิยม แบรนด์ดัง อาหารอร่อย ฯลฯ จัดการด้วยเนกขัมมะเสีย พรากออกจากกามที่หลงยึดไว้ ไม่พรากไม่รู้นะ พรากออก อดทนสู้ไม่ถอย ให้เห็นโทษภัย ใครติดยาเสพติดก็ว่ายาเสพติดดี แต่เมื่อพรากแล้วทุกข์ทรมานจะเกิด คนสองประเภท ประเภทหนึ่ง มีปัญญาเห็นว่าการเสพติดมันทุกข์มากแล้วพยายามเลิกมันให้ได้เพื่อจะได้พ้นทุกข์ ประเภทที่สอง เห็นว่าการเลิกนั้นทุกข์จะตาย เสพต่อดีกว่ามีความสุข คนติดยาก็จะติดยาต่อไปด้วยความโง่
เมื่อพรากจากกามคุณและไม่ทำอกุศลทางกายทางวาจาได้ จิตใจจะสงบในระดับที่ง่ายต่อการเจริญสมาธิ เพื่อการจัดการกับทุกข์ในจิตใจระดับต่อไป
ทุกข์มาจากใจที่ไปคิดเรื่องอกุศล สาเหตุมาจากสิ่งที่สั่งสมมายาวนาน ทั้งเห็นแก่ตัว อยากได้ไม่อยากให้ เห็นแต่เรื่องไม่ดีของคนอื่น ตัวเองดีหมด
จากนั้นจึงต้องเพียรละอกุศลในใจ ละอกุศลเจริญกุศล รู้ลมไว้
เติมกุศลในใจ เพียรเจริญกุศลไว้คือ อานาปานสติก็ดี เมตตาก็ดี ฯลฯ รู้ลมหายใจไว้มากๆ ในชีวิตช่วงไหนว่าง รู้ลมหายใจ (อ่านอยู่ หยุดอ่านตรงนี้เลย…รู้ลมแทน…หลายๆ ครั้ง แล้วค่อยอ่านต่อ)
ระยะนี้อกุศลจะถูกชำระด้วยกุศล โดยหลักการแน่นอนว่า อกุศลต้องลด กุศลต้องเพิ่ม ผลคือจะสงบสุขในใจมากขึ้นแน่ๆ จิตใจจะตั้งมั่น เป็นสุขสงบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลจากการรู้ลม จากนี้การนั่งสมาธิจะสงบขึ้นเองโดยธรรมชาติ ช่วงนี้ทำทั้งในรูปแบบคือการเดินจงกรม นั่งสมาธิและรู้ลม มีสติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวันไว้ให้มาก
ศีลก็บริบูรณ์ขึ้นมา ไม่ว่าร้ายใคร ไม่เบียดเบียนด้วยกาย เริ่มพรากออกจากการยึดติดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ได้มากขึ้น จิตใจจะสงบตั้งมั่น ปราศจากนิวรณ์มารบกวน อกุศลในใจก็ละไปด้วยการรู้ลมแทน เมื่อรู้ลมก็เกิดเวทนาขึ้นเฉพาะคืออุเบกขา ทุกข์ เริ่มลดลงๆ ความตั้งมั่นของจิตจะสูงขึ้น จะเริ่มเห็นว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ก็ดับไป สุขเกิดขึ้น สุขก็ดับไป เฉยๆ เกิดขึ้น เฉยๆ ก็ดับไป จนเห็นสรรพสิ่งภายนอกก็เช่นกัน ความรู้ความเห็นเข้าไปในระดับจิตมากเข้า ไม่เหมือนเมื่อก่อนมันรู้ระดับสมอง
เมื่อความคิดเกิดขึ้น สติระลึก กลับมารู้ลม จังหวะนี้จะเห็นว่าวิญญาณตั้งอาศัยที่สังขาร เกิดเป็นอารมณ์ในคิด เมื่อละมารู้ลม วิญญาณจะดับลงจากสังขารมาเกิดขึ้นที่รูปแทน สักพักก็เผลอไปคิดอีก ก็ทำนองเดียวกัน วิญญาณดับลงจากรูปแล้วไปเกิดที่สังขารอีก จะเห็นการเกิดดับในอย่างนี้ไปเรื่อย รวมถึงในขันธ์อื่นๆ ด้วยคือ เวทนา (ความพอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ) สัญญา (ความจำได้หมายรู้) จะค่อยๆ เห็นว่าไม่มีเรา ขันธ์ทำงานกันเอง เมื่อมีผัสสะมากระทบก็จะเกิดเป็นอาการต่างๆ เป็นผลออกมาหรือจะเรียกว่าพฤติกรรมก็ได้ แสดงว่าหากจะเปลี่ยนพฤติกรรมใครต้องไปแก้ที่สันดานที่สั่งสมมา ความเพียรในการละทั้งหลาย ตั้งแต่ศีลมา ความเพียรละอกุศลในใจมา จนความเพียรสร้างกุศลนั้นเริ่มไปเปลี่ยนสันดานใหม่ ตรงนี้อยู่ในมรรคตั้งแต่ข้อ 2-3-4-5-6 เพราะฉะนั้นการปรับเปลี่ยนสันดานเดิมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปจัดการกับความเคยชินในการตอบสนองที่เป็นอกุศล
เมื่อสันดานเดิมเริ่มเปลี่ยนมาเป็นนิสัยที่กุศลเป็นหลัก ใจจะสงบเยือกเย็น ไม่เร่าร้อน จิตจะตั้งมั่นได้ง่าย เห็นการเกิดดับ จนเบื่อหน่ายคลายความยึดถือในความทุกข์ และแม้นความสุขก็ล้วนของเกิดดับ จะเริ่มปล่อยวาง จะเกิดการดับว่าง จากจุดเป็นเส้น จากน้อยไปมาก เห็นความจริงโดยลำดับจนสามารถละความเห็นผิดว่ากายเป็นเรา จิตเป็นเรา ทุกข์ลดลงมหาศาล เพราะที่ทุกข์กันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะเห็นผิดว่ามีเรานี่ล่ะ
จากนั้นแม้ละความเห็นผิดลงไปได้แล้ว เพราะจากการเฝ้าสังเกตรูปนาม (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) มาตลอด เข้าใจว่าขันธ์ทั้งหลายเกิดดับ (แต่วิญญาณหรือจิตกลับไม่เห็นว่าตัวเองก็เกิดดับ) จิตจึงยึดถือความรู้หรือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าดูมาตลอด ตรงนี้หากไม่ใช้การละอารมณ์ให้วิญญาณดับจากขันธ์ที่เป็นนามธรรม ให้วิญญาณมาตั้งอาศัยที่รูปแทนหรือที่เรียกว่ากายคตาสติ การภาวนาที่ผ่านมาจะเกิดปัญหาตรงนี้มาก เพราะจิตไม่เห็นตัวเองเกิดดับ เราคิดเอาเองก็ไม่ได้เพราะเขาต้องเห็นเอง สร้างเหตุไว้อย่างไร ผลก็เป็นอย่างนั้น รู้แล้วต้องปล่อยต้องทิ้งทันที ให้วิญญาณดับลงไปด้วย ไม่ให้สืบเนื่องไปในขันธ์ของนามธรรม ให้ละแล้วมาอยู่กับรูป ไม่เช่นนั้นก็จะก่อเป็นภพ
ถึงตรงนี้จิตจะคลายความยึดถือในขันธ์ อารมณ์ต่างๆ เริ่มดับไป ดับไปก็เงียบ ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ กุศลก็ไม่เอา ไม่ยึด ไม่หลงเสพอีก แต่ก็ทำกุศลไปไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนรูปธรรมทั้งหลายไม่สามารถทำความกระทบกระเทือนต่อจิตได้อีก จิตโปร่งเบาเป็นอิสระจากรูป หมดความเกาะเกี่ยว ไม่ดึงเข้า ไม่ผลักออกต่อรูป เสียง กลิ่น รส ที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย อีก ใครทำอะไรๆ ก็ไม่เอาโกรธอีก ไม่เห็นมีอะไร
จากนั้นทุกข์เบาบางเต็มที จะเหลืออยู่ที่ยังทุกข์บ้างก็เพราะไปยึดในกุศลบ้าง ในทิฏฐิบ้าง ฯลฯ ก็เพราะยังไม่เห็น สัพเพ ธัมมา อนัตตา จนเมื่อเห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้งว่า “นอกจากทุกข์แล้ว ไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรดับไป” สิ่งเกิดดับล้วนเป็นทุกข์ สิ่งเป็นทุกข์ล้วนเป็นอนัตตา
อนัตตาคือสิ่งทั้งปวงมีเหตุให้เกิดก็เกิด หมดเหตุก็ดับ สิ่งนี้แม้จะว่างจากตัวตนแต่ยังมีเหตุเกิดอยู่ เมื่อเห็นถึงที่สุดวางในขั้นสุดก็เข้าสู่สุญญตา ที่ๆ ไม่มีเกิด ไม่ดับอีกต่อไป ปล่อยจากความยึดถือสิ่งเกิดดับ ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนักนะ! ตัวขันธ์เองก็เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อเห็นแจ่มแจ้งในอริยสัจ 4 จิตเองจึงปล่อยความยึดถือในขันธ์ พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติว่า นิพพาน ผู้รู้ที่เป็นวิญญาณเกิดดับก็ถูกปลดปล่อย แม้นมีอยู่แต่ไม่มีราคะ นันทิและตัณหา เป็นเชื้อให้ไปตั้งอาศัยในขันธ์อื่นๆ จึงเป็นของว่างทันที ชั้นนี้แม้นสติเองก็เป็นธรรมฝ่ายเกิดดับ ถึงสภาพนี้สรรพสิ่งกลายเป็นความเคยชิน หมดเจตนาต้องถือต้องประคอง อิสระ เกิดเป็นวิมุตติญาณทัสนะ ไม่ยึดอะไรๆ มาเป็นเราอีกต่อไป ถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่ตรงนี้
“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
สรุป
- ละบาป ระดับกายวาจา ใช้ศีล
- ละการยึดติดกามคุณ เนกขัมมะ ถอนความยินดีในวัตถุนิยม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทั้งในระดับพรากด้วยกายหรือพรากด้วยใจ
- เพียรละอกุศลในใจ ละไปเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน
- เพียรเจริญกุศลในใจ อานาปานสติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ
- ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นการเกิดดับในสรรพสิ่งทั้งภายนอกและภายใน โดยเฉพาะภายในสำคัญมาก
- เมื่อทำถูก ต้องรู้สึกคลายความความยึดถือในสิ่งต่างๆ ลง สรรพสิ่งล้วนเป็นทุกข์
- เมื่อเห็นจนเต็ม ศีลไม่บกพร่อง เผลออย่างไร ก็ไม่มีวันทำผิดอีก ไม่ต้องเจตนาในการถือศีล ใจรู้สึกเป็นกลางไม่ดิ้นรน เจริญกุศลต่อไป ช่วยเหลือสังคม อยู่ด้วยแล้วคนรอบข้างสัมผัสความสุขจากเรา อารมณ์ไม่วูบวาบ
- เจริญกุศล เจริญสติโดยเห็นฐานต่างๆ ไม่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเกิดดับ ว่างจากตัวตน มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ จนวันหนึ่งเหตุเกิดก็ถูกชำระ จึงดับตลอด เมื่อดับก็ว่าง เมื่อว่างก็สงบเย็น จุดนี้อกุศลถูกละจนเบาบาง เป็นระดับละเอียดก็ละไปเรื่อยๆ ละเพื่อให้เห็นวิญญาณเองก็เกิดดับไป อย่างนั้นผู้รู้จะแข็งแรง
- กุศลเต็ม ทำกุศลหมดความยึดถือในกุศล ทุกสรรพสิ่งทำแล้วไม่ยึดถือ รวมทั้งว่างจากผู้กระทำ หมดผู้ทุกข์ หมดถูกผู้กระทำ อยู่นอกเหตุ เหนือผล ที่ผ่านมาทำเหตุสร้างเหตุมาจนทั้งเหตุก็พอ ผลก็เต็ม หมดความยึดถือทั้งปวง สงบเย็น จบพรหมจรรย์
เดินทางอยู่ตรงไหน ขาดอะไร ลองตรวจสอบดูคร่าวๆ สำคัญคือต้องสู้ เพียรไม่หยุด อย่าเอาแต่สนุกสนานไปวันๆ หลงไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปในใจ
เขียนเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น