เมื่อเกิด ตัณหา จึงเกิด การแสวงหา
เมื่อเกิด การแสวงหา จึงเกิด การได้
เมื่อเกิด การได้ จึงเกิด ความปลงใจรัก
เมื่อเกิด ความปลงใจรัก จึงเกิด ความกำหนัดด้วยความพอใจ
เมื่อเกิด ความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงเกิด ความสยบมัวเมา
เมื่อเกิด ความสยบมัวเมา จึงเกิด ความจับอกจับใจ
เมื่อเกิด ความจับอกจับใจ จึงเกิด ความตระหนี่
เมื่อเกิด ความตระหนี่ จึงเกิด การหวงกั้น
เมื่อเกิด การหวงกั้น จึงเกิด การมีเรื่องราวจากการหวงกั้น (การทะเลาะเบาะแว้ง)
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 366 เรื่องสปกิณกะทุกข์)
เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัยสิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น การจะดับอะไร ต้องไปดับที่เหตุ ในกรณีนี้เหตุที่ต้องดับคืออะไร?…คือตัณหา ดับตัณหาทำอย่างไร?…ดับความยินดีพอใจ (เวทนา) จะดับเวทนาก็ต้องดับผัสสะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสติไว้ ให้บ่อยให้ถี่ จนพบสมดุลของน้ำหนัก แล้วจะสบายไม่เป็นภาระ
เขียนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น