เลย นี่แหละวาจาเครื่องพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย…”
คอร์สในสมัยพุทธกาลไม่ได้ถือศีล 8 อยู่ 8 วัน 7 คืน หรือ 5 วัน 4 คืน ฯลฯ เขาออกบวชอยู่ในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้ากันทั้งชีวิต พระฉันอะไรก็ได้อย่างที่ต้องการหรือ? พระอยากไปไหนก็ไปได้ตามอำเภอใจหรือ? พระอยากดูหนังเรื่องไหนก็ไปดูหรือ? ทำไมพระพุทธองค์จึงบัญญัติธรรมวินัยไว้อย่างนี้ ปฏิบัติสบายๆ ให้มีความสุขอยู่ในวังกับกามคุณได้แล้วจะไปกันทำไม แล้วทำไมทั้งราหุล พระนางพิมพา พระนางปชาบดีจึงออกบวชกันหมด ทำไมล่ะ หากวิธีการปฏิบัติที่ให้อยู่กับกามแล้วออกจากกาม หากใช้ได้ดีพระองค์คงไม่ต้องให้ครอบครัวของท่านออกมาลำบากกันหรอก แน่นอนว่าบุคคลผู้อยู่กับกามโดยไม่ติดกามมีอยู่ แต่แน่ใจหรือว่าเป็นเรา ลองดูการใช้ชีวิตของเราดูเองว่าติดกามหรือไม่ กามนั้นมาทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กายเลยนะ ไม่ใช่กามหยาบๆ แค่เสพเมถุน
อย่าหลงผิดนะ ถึงบอกเตือนมาเสมอว่าเข้าใจให้ถูก (สัมมาทิฏฐิ-ต้องรู้นะว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์-กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับมันได้เมื่อไหร่ นิโรธอยู่ตรงนั้นนะ) ส่วนทำได้แค่ไหนไม่มีใครว่าอะไร เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเพื่อให้พ้นทุกข์นะ (พระอรหันต์) ไม่ใช่ให้สนุกหลงในกามแล้วยึดติด ดังนั้นคำสอนทั้งหมดของท่านพุ่งไปที่ความหลุดพ้นจริงๆ จังๆ จิตต้องหยุดการมาการไปสนิท นิ่งแข็งดั่งศิลาจริงๆ เมื่อถึงตรงนั้นแล้วโลกนี้จะเป็นของว่าง ดั่งภาษิตว่า “โลกนี้ไม่มีค่าอะไรมากไปกว่าเศษหญ้าเศษไม้” แล้วจะอยู่นั่งเล่นเศษหญ้าไปทำไม ว่างจริงไม่อยู่นะ
วันนี้เราจะปฏิบัติได้แค่ไหนไม่มีปัญหา แต่เป้าหมายให้ชัดเจน หากยังละกามหรืออกุศลหรือสังโยชน์เครื่องร้อยรัดไม่ได้ ก็ให้ถอดถอนความยินดีพอใจในสิ่งนั้นๆ ออกเสีย ได้มากได้น้อยก็ทำกันไปให้เต็มกำลัง
การพรากจากกามทั้งหลายเรียกว่า เนกขัมมะ คือไม่ยอมตามใจกิเลสที่เรียกว่าทางสุดโต่งสายแรกคือ กามสุขัลลิกานุโยค เพราะฉะนั้นการฝึกที่จะละกามนั้นจะเกิดความอึดอัดบ้าง แต่นั่นเกิดจากการไปยึดติดมัน การพรากต้องอดทนอดกลั้นจนสามารถละขาดได้ ละขาดจากอะไร? จากตัณหา (ความทะยานอยากในกาม ความอยากมีอยากเป็น ความไม่อยากมีอยากเป็น) ราคะ (ความยินดีพอใจ) นันทิ (ความเพลินในอารมณ์) ส่วนละขาดได้ด้วยการถอนฉันทราคะในการอยู่กับมันแล้วถอดถอนมัน พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในการละอาสวะ แม้นต้องมีอยู่หรือใช้อยู่คือการพิจารณาใช้เสนาสนะ บิณฑบาต จีวร คิลานเภสัช นั่นคือให้บริโภคอย่างมีสติปัญญาและเท่าที่จำเป็นไม่มีเกิน คือถอนความพอใจในสิ่งนั้น ก็ถอดถอนได้เช่นกัน
วันนี้ทำได้แค่นี้ ไม่ใช่ว่าต้องดึงคำสอนมาตอบสนองใจ “กู” สัมมาอาชีวะคือ อาชีวะที่เป็นสัมมา หมายถึง “พระ” เมื่อเกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นมาจริงๆ จึงจะรู้ว่าการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แต่วันนี้เราพรากกันได้ยากก็ต้องพยายามบริหารเวลาที่มีกันอยู่นิดเดียวภายใต้ข้อจำกัด ก็เท่านั้นเอง
ดังนั้นที่บางคนบอกสมัยพุทธกาลไม่มีคอร์ส ก็เพราะเขาบวชเป็นพระกันไปเลย ไม่มีจบคอร์ส วันจบคอร์สคือวันที่ “ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อการเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
แต่วันนี้เราทำได้แค่นี้ก็แค่นี้ล่ะ การมาคอร์สทำให้เราได้เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ได้ในเวลาอันสั้น ไม่ใช่มาบรรลุธรรมในคอร์ส กลับไปก็ไปปฏิบัติกันต่อเองในชีวิตประจำวัน รู้ๆ ละๆ ไปไวๆ เปลี่ยนนิสัยสันดานจิตใหม่ อุปาทานเป็นสัญญาที่เหนียวแน่น การจะเปลี่ยนนิสัยต้องทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เอาลมหายใจเป็นที่พึ่งที่อาศัยไว้…ไม่ทำอกุศล นั่นรวมถึงมโนทุจริตด้วย อย่าเอาแต่คิดเรื่องผิดศีล
ลองนึกถึงชีวิตก่อนที่จะมารู้จักธรรมะในคอร์สปฏิบัติกันดูสิว่าตอนนั้นเป็นอย่างไรกัน ดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาทิฏฐิกันขนาดไหน ใครเป็นอย่างไรผมไม่ทราบ แต่วันนี้สำหรับตนเองกลับมาเป็นผู้เป็นคนได้เพราะคอร์สปฏิบัตินี่ล่ะ เวลาที่มีชีวิตอยู่มันกำลังนับถอยหลังนะ ไม่ได้นับไปข้างหน้า อย่ามัวประมาทก็แล้วกัน มาเรียนรู้ มาฝึกภาวนา ฝึกพรากจากกาม ฝึกออกจากที่ที่มีแต่ “กูกับของกู” นั่งไปพักหนึ่งก็จะไปทำโน่นทำนี่อยู่เรื่อย
เวลานักเรียนไปเรียนเมืองนอกครั้งแรก เขาจะบอกกันว่า พอเครื่องบินขึ้นแล้วครึ่งทางแรกจะนั่งคิดถึงสิ่งที่เพิ่งพรากมาเช่น พ่อแม่ แฟน เพื่อน อะไรจิปาถะ ส่วนครึ่งหลังจะเริ่มกังวลถึงสิ่งที่จะต้องไปเจอ วันนี้เครื่องบินขึ้นกันมาถึงครึ่งทางหรือยัง อย่ามัวหลงสนุกหลงเสียใจอยู่นะ เพราะงานนี้กัปตันไม่เคยบอกว่าปลายทางอยู่ไหนและถึงเมื่อไหร่ หาที่พึ่งไว้ได้แล้ว อย่ามัววิ่งวน มรรคมีองค์ 8 มีอยู่ อย่าพลาดโอกาสทั้งๆ ที่ได้มีโอกาสเกิดมาพบความจริงอันประเสริฐคืออริยสัจ 4 แล้ว
เขียนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น